วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (การใช้ภาษา)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สภากาแฟ (ทั้งหมด) | ||
---|---|---|
# | โครงการ | เริ่มหัวข้อใหม่ |
# | เทคนิค | เริ่มหัวข้อใหม่ |
# | ภาษา | เริ่มหัวข้อใหม่ |
# | ตรวจสอบ | เริ่มหัวข้อใหม่ |
# | จิปาถะ | เริ่มหัวข้อใหม่ |
# | มือใหม่ | ตั้งคำถาม? |
หัวข้อเก่าๆ |
หัวข้อเกี่ยวกับการใช้ภาษาในสารานุกรมและโครงการ เช่น ตัวสะกด การทับศัพท์ ศัพท์บัญญัติ
ดูการพูดคุยเก่า ๆ ได้ที่ กรุ : 1 2
สารบัญ |
[แก้] นโยบายที่กำลังดำเนินการอยู่ในบทพูดคุยอื่น
- พูดคุย:วิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน/ไม้ยมก (เริ่ม พ.ค. 2005)
- พูดคุย:วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์
[แก้] การใช้วรรณยุกต์ ในภาษาต่างประเทศ
[แก้] หมวดหมู่ "ชาวไทย" "บุคคลไทย" หรือ "บุคคลชาวไทย"
- ถ้าได้ข้อสรุปในส่วนนี้แล้ว ให้นำเขียนเพิ่มใน วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ
- ปัญหา หมวดหมู่ซ้ำซ้อน เช่นใน หมวดหมู่:บุคคลไทย และ หมวดหมู่:ชาวไทย
เห็นตอนนี้มีความเห็นหลายแบบนะครับ ว่าจะเรียกโดยใช้คำว่า "ชาว" หรือ "บุคคล" ในการจัดหมวดหมู่ เพราะตอนนี้มีซึ่งซ้ำซ้อนกัน และนอกจากนี้ยังมีอีกมากมาย อาทิ เช่น บุคคลอังกฤษ บุคคลจีน ชาวอังกฤษ ชาวเชียงใหม่ ชาวสุพรรณบุรี และอื่นๆ เลยคิดว่าน่าจะมีข้อตกลงและนำไปเขียนในหน้านโยบายในการตั้งชื่อเพิ่มเติมครับ ฝากคนอื่นเสนอความเห็นเพิ่มเติมครับ มีอีกความเห็นหนึ่งคือใช้คำว่า "คน" แทนที่ "ชาว" หรือ "บุคคล" เช่น คนไทย คนอังกฤษ คนเชียงใหม่ คนกรุงเทพ --Manop | พูดคุย - 07:15, 30 สิงหาคม 2006 (UTC)
- น่าจะใช้ "ชาว" นะครับ จะว่าไป ความหมายน่าจะเหมือนกัน แต่คำว่า ชาว เข้าใจได้ง่ายกว่า สำหรับผู้ใช้ทั้งหมด --ธวัชชัย 00:42, 31 สิงหาคม 2006 (UTC)
-
- สนับสนุน ชาว ครับ ถ้าเปิดพจนานุกรมจะเห็นว่า "ชาว" ใช้กับกลุ่มคนที่มีเชื้อชาติ ถิ่นฐาน อาชีพ หรือศาสนาเดียวกัน ยกตัวอย่างด้วยว่า ชาวไทย ชาวจีน ชาวไร่ ชาวพุทธ แต่ในคำว่า "คน" หมายถึง มนุษย์ ไม่ได้ยกตัวอย่างเลยว่่า คนไทย คนจีน ผมจึงอนุมานเอาเองว่า คนไทย คนจีน คนเชียงใหม่ ฯลฯ อาจจะเป็นภาษาปากมากกว่าภาษาทางการ --Pi@k 03:18, 31 สิงหาคม 2006 (UTC)
-
- ชาว ดีกว่ามั้งครับ พออ่านแล้ว ก็รู้สึกว่า ชาว จะดูลื่นไหลกว่าด้วย Mda
-
- เห็นด้วยกับ ชาว อีกคนครับ -- Lerdsuwa 15:33, 31 สิงหาคม 2006 (UTC)
ที่ถูกต้องน่าจะเป็น "บุคคลชาวไทย" ก็ได้ บุคคลบ่งชี้ถึงเฉพาะตัวคนที่กล่าวถึง ส่วน "ชาว" หมายถึงกลุ่มคนจำนวนมากที่มีการร่วมในปัจัยใดปัจจัยหนึ่ง เช่นชาวธรรมศาสตร์ ชาวมอญ ชาววิกิ แต่ถ้าจะให้กะทัดรัด อาจใช้ "บุคคลไทย" จะดีกว่าใช้ "ชาวไทย" ราชบัณฑิตยสถานก็ได้บัญญัติไว้ว่า บุคคล = คน (เฉพาะตัว) ส่วนใหญ่ในวิกิเราก็ใช้กล่าวถึงบุคคลเฉพาะตัวอยู่แล้วนะครับ สำหรับผม จะใช้บุคคลชาวไทย หรือ บุคคลไทยก็เข้าใจได้Heuristics 12:07, 31 สิงหาคม 2006 (UTC)
-
- ความเห็นผมนะ คำว่า 'ชาว' ฟังดูโอเค เป็นภาษาที่เราคุ้นชินกันอยู่แล้ว และก็มักจะใช้กันในภาษาทางการอย่างภาษาเขียน (หรือภาษาพิมพ์ในโลกไซเบอร์), คำว่า 'คน' ที่จริงแล้วก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่คนส่วนใหญ่ไปให้ค่ามันว่า มันเป็นคำที่ควรใช้ในการพูดมากกว่า, ส่วนคำว่า 'บุคคล' ผมชินกับคำนี้ในฐานะที่มันเข้าไปอธิบายกลุ่มคนเฉพาะกลุ่ม อย่างบุคคลสำคัญในด้านต่าง ๆ เช่นด้านกีฬา ด้านวิทยาศาสตร์ อะไรพวกนี้ มันเหมือนมีจุดร่วมกัน แต่เป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงมากกว่าสัญชาติจริง ๆ
-
- แต่ยังไงก็ตามครับ คำใดที่จะเป็น คำพูด คำใดที่จะเป็น คำเขียน สิ่งเหล่านี้ถูกให้ค่าจากคนกลุ่มหนึ่งที่ใช้ภาษานี้ในการสื่อสาร ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจนัก และมันก็ไม่มีอะไรมารับรองด้วยว่า ใช้คำนี้แล้วจะถูก ใช้คำนี้แล้วจะผิด ใครเป็นคนตัดสิน ความจริง หรือความรู้สึก? สรุปแล้ว ก็อยู่ที่คุณ คุณเห็นว่าคำไหนเหมาะสม ใช้เลย ผมขอไม่ส่ง SMS ไปโหวตให้คำไหนอยู่ต่อแล้วกันนะ -- Glass mask หลังโครงสร้างนิยม วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2549, วันศุกร์, เวลาตีหนึ่ง สิบสี่นาที
- สำหรับ "บุคคลไทย" นั้น หมายถึง คนแต่ละคน แต่ควรจะใช้ชื่อ "หมวดหมู่:ชาวไทย" มากกว่า เพราะการใส่ "หมวดหมู่" คือ การจัดรวมเอา "บุคคลไทย" มาอยู่รวมด้วยกัน ซึ่งไม่ใช่การกล่าวเฉพาะตัวบุคคลอีกต่อไป --ScorpianPK 18:30, 31 สิงหาคม 2006 (UTC)
- เห็นด้วยกับการใช้คำว่า ชาว ในการจัดหมวดหมู่นะคะ ส่วนคำว่า "บุคคล" อย่าง "บุคคลไทย" น่าจะใช้สำหรับการเรียกเฉพาะตัวเฉพาะบุคคลไปค่ะ --TuMmY-- 15:10, 2 กันยายน 2006 (UTC)
- อะไรก็ได้ครับ แต่ผมว่า "ชาวไทย" ก็ดีแล้ว ถึงจะดูเป็นทางการน้อยกว่าแต่ก็สื่อความหมายได้แล้วครับ ไม่ต้องใช้คำว่าบุคคลก็ได้ ยังไงก็ตามก็ควรเปลี่ยนของประเทศอื่น ๆ ให้เป็นแบบเดียวกันด้วยนะครับ Potapt 12:09, 5 กันยายน 2006 (UTC)
ย้ายเสร็จหมดเรียบร้อยแล้วครับ ถ้าอันไหนลงเหลืออยู่คลาดสายตาไป ฝากเพื่อนๆ ช่วยกันย้ายด้วยครับ --Manop | พูดคุย - 19:36, 12 กันยายน 2006 (UTC)
[แก้] พ.ศ. และ ค.ศ.
บทความต่างๆ ใน วิกิพีเดียไทย ควรอ้างอิง เป็น พ.ศ. หรือเปล่าครับ หรือไม่จำเป็นสามารถอิงเป็น ค.ศ. ได้เลย เพราะเห็นหลายๆ บทความ จะใช้ ค.ศ. อาจจะเพราะแปลมาจาก วิกิ english หรือตามเว็บไซต์ ภาษาอังกฤษ โดยส่วนตัว ผมว่าน่าจะใช้ พ.ศ. มากกว่า ขอความเห็นหน่อยครับ ?
- ตามคู่มือการเขียน แนะนำให้ใช้ พ.ศ. เป็นหลักเช่นกันครับ แต่ไม่ได้บังคับว่าต้องเป็นอย่างนั้น คงแล้วแต่ความสะดวก ส่วนตัวผมก็ชอบใช้ พ.ศ. เป็นหลักมากกว่า --Pi@k 04:36, 31 ตุลาคม 2006 (UTC)
-
- ของผมใช้ พ.ศ. เป็นหลักเช่นกันครับ ยกเว้นแต่ชื่อเฉพาะในการแข่งขันฟุตบอลจะใช้เป็นปีค.ศ. กำกับ เช่น ฟุตบอลโลก 2006, เอเชียนคัพ 2007, หรือ พรีเมียร์ลีก 06/07 --Manop | พูดคุย - 05:55, 31 ตุลาคม 2006 (UTC)
[แก้] ชื่อบทความประเทศต่างๆ
คือผมเข้าใจว่า บทความเกี่ยวกับประเทศต่างๆ ควรจะใช้ชื่อทางการอย่างสั้น แต่พอดูชื่อบทความแล้ว บางประเทศผมคิดว่า น่าจะมีชื่อที่สั้นกว่านี้ได้ ก็เลยไม่แน่ใจว่า มีหลักการอะไรในการตั้งชื่อครับ ตัวอย่าง สาธารณรัฐคอสตาริกา สาธารณรัฐกัวเตมาลา สาธารณรัฐนิการากัว สาธารณรัฐเอลซัลวาดอร์ สาธารณรัฐปานามา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหพันธรัฐรัสเซีย รวมถึง สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เข้าใจว่าบางประเทศ ชื่ออย่างสั้นก็จะยังมีคำที่ระบุรูปแบบรัฐ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สาธารณรัฐเช็ก นครรัฐวาติกัน แต่ผมคิดว่าประเทศที่ยกมาข้างบน น่าจะใช้เป็น ประเทศเยอรมนี ประเทศรัสเซีย ประเทศลาว เป็นชื่ออย่างสั้นได้นี่ครับ เพราะขนาดสวิตเซอร์แลนด์ก็ยังใช้ว่า ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไม่ใช่ สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งก็เป็นชื่อที่รู้จักกันทั่วไปเช่นกัน
- น่าสนใจครับอันนี้ ผมเองก็เห็นหลายอันเหมือนกัน บางอันก็ใช้ชื่อยาวบางอันใช้ชื่อสั้น แต่อย่างหน้า ประเทศไทย ก็ใช้ชื่อสั้น ไม่ใช้คำว่า ราชอาณาจักรไทย ครับ --Manop | พูดคุย - 07:20, 2 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
อีกเรื่องหนึ่ง ที่ไม่เกี่ยวกับการใช้ภาษา แต่ก็เกี่ยวเนื่องกับบทความกลุ่มเดียวกัน ก็ขออนุญาตถามไปพร้อมกัน คือ ในการจัดหมวดหมู่ ในหมวดหมู่ประเทศในทวีป... หากมีหมวดหมู่ย่อยเป็นของประเทศนั้นแล้ว ยังต้องมีตัวบทความในหน้าหมวดหมู่หลักไหมครับ (เช่น บทความประเทศกรีซ จัดหมวดหมู่เฉพาะ หมวดหมู่:ประเทศกรีซ หรือว่าต้องใส่ใน หมวดหมู่:ประเทศในทวีปยุโรปด้วยครับ เพราะเท่าที่ดู ยังไม่ค่อยเป็นมาตรฐานเท่าไรนัก CW32 17:31, 31 ตุลาคม 2006 (UTC)
- ตอนนี้เห็นมีผู้ใช้สองสามคนนั่งไล่เก็บหมวดหมู่ย่อยเข้าไปครับ อย่างถ้าประเทศกรีซ ก็อยู่ในหมวดหมู่ประเทศของตัวเอง และหมวดหมู่นั้นก็จะอยู่ใน ทวีปยุโรปอีกทีหนึ่งครับ เพราะจะได้ไม่มีซ้ำซ้อนกันครับ --Manop | พูดคุย - 07:20, 2 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ขอให้จัดลงหมวดหมู่ย่อยเลย อย่าจัดซ้ำกับหมวดหมู่หลักอีก กำลังพยายามจัดการกับหมวดหมู่ซ้ำซ้อนอยู่ครับ Saeng Petchchai 22:07, 5 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
ตกลงเรื่องชื่อบทความ เอาอย่างไรดีครับ ผมขอเสนอให้ใช้ชื่ออย่างสั้น โดยตั้งชื่อบทความว่า ประเทศ ตามด้วยชื่ออย่างสั้น ที่อยู่หน้าเครื่องหมายโคลอนในหน้า [1] (จริงๆจะตั้งชื่ออย่างสั้นหรือยาวก็ได้ครับ แต่น่าจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน) ทีนี้ก็สงสัยอีกนิดนึง กรณีที่ว่าใช้ชื่ออย่างสั้น ควรจะเป็น สหราชอาณาจักร หรือประเทศสหราชอาณาจักร (เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเช็ก หมู่เกาะโซโลมอน ฯลฯ) หรือถ้าเปลี่ยนไปใช้ชื่อเต็มให้หมด (สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ราชอาณาจักรไทย ฯลฯ) ดีครับ cW32 talk 11:06, 22 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
[แก้] ย่อหน้า
ข้อแตกต่างของภาษาอังกฤษกับไทยอย่างหนึ่งก็คือ ภาษาไทยเรานิยมใช้ย่อหน้าครับ ผมเลยลองทำแม่แบบ {{p}} สำหรับเอามาใช้ในหน้าบทความภาษาไทย ขอเสนอไว้ให้พิจารณา --Pi@k 14:05, 1 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ส่วนตัวผมไม่มีปัญหาครับ ย่อหน้าหรือไม่ย่อหน้า เพราะเริ่มชินกับแบบไม่ย่อหน้านี้แล้วครับ แต่ถ้าจะปรับแก้ทุกบทความ อาจจะแก้ที่ตัว CSS ไฟล์ได้เลยนะครับ ใช้เป็น style="text-indent: 3em;" และแก้ใน <p> และทุกย่อหน้าจะย่อเข้ามาให้อัตโนมัติ แสดงผลเหมือนด้านล่างครับ --Manop | พูดคุย - 07:20, 2 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
ตัวอย่าง
- ขอบคุณครับ ถ้าอย่างนั้นคงต้องรอฟังความเห็นหลาย ๆ คน เพราะมีผลกระทบไปหมดเลย --Pi@k 07:44, 2 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
จะว่าไปก็คุ้นกับการไม่ย่อหน้าเสียแล้ว ถ้าย่อหน้า ก็ไม่ต้องบรรทัดใช่ไหมครับ ไม่ทราบว่ามีผลกับการใส่ภาพ ตาราง หรืออื่นๆ หรือเปล่า ถ้าไม่มีปัญหา ก็น่าลองดูก่อนสักพัก แล้วค่อยลงมติอีกที --ธวัชชัย 05:23, 3 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ได้ลองย่อหน้าโดยแก้ไฟล์ monobook.css ของตัวเองตามที่คุณ Manop แนะนำ ผมว่าไม่เลวทีเดียวครับ อ่านง่ายขึ้นเยอะเลย ขอผลักดันอีกสักรอบให้นำมาใช้แบบ global --Pi@k 02:13, 4 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
-
- เห็นด้วยกับการจัดย่อหน้าครับ ตอนเริ่มเขียนใหม่ๆพยายามจัดเหมือนกันแต่ไม่ค่อยได้ผล ขอให้เป็นแบบอัตโนมัติ เหมือนการจัดชิดริมแบบเดิมนะครับ Saeng Petchchai 22:07, 5 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
-
-
- รู้สึกว่ามีหลายท่านที่อยากให้มีการจัดย่อหน้า และไม่มีใครคัดค้านด้วย ผมว่าลองเปลี่ยนเลยดีไหมครับ แต่จะย่อหน้าเท่าไรดีครับ
-
1 em
2 em (จะเท่ากับการใช้เครื่องหมาย : )
3 em
โหวตแบบ 3 em ครับ Saeng Petchchai 16:12, 6 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
ลอง 3em ก่อนก็ได้ครับ --Pi@k 04:23, 7 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
-
-
- ดูดีมากครับ แต่บางหัวข้อ(แบบมีบรรทัดเดียว) พอมีย่อหน้าแล้วมันดูยังไงยังไงอยู่นะครับ แล้วคนอื่นคิดว่าอย่างไรครับ Prince 14:55, 12 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
-
[แก้] ชาวอเมริกันหรือชาวสหรัฐอเมริกา???
ขอเสนอให้เปลี่ยนชาวอเมริกันเป็นชาวสหรัฐอเมริกา เหตุผลคือ
- โดยความหมายตามตัวอักษร ชาวอเมริกันอาจหมายถึงผู้อาศัยในทวีปอเมริกาทั้งหมด ไม่เจาะจงประเทศเหมือนชาวเยอรมัน ชาวดัตซ์
- ในหนังสือและหนังสือพิมพ์จะพบคำว่าชาวสหรัฐอเมริกามากกว่า
ช่วยออกความเห็นหน่อยครับ Saeng Petchchai 20:05, 17 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- เข้าใจมาตลอดว่า ชาวอเมริกัน คือ ผู้อาศัยที่ประเทศอเมริกา แต่ถ้ามันไม่เจาะจงดังเหตุผลข้างต้น ผมก็สนับสนุนให้เปลี่ยนนะครับ --ScorpianPK 20:10, 17 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
- ที่ผมเสนอให้เปลี่ยนเหตุผลหลัก คืออยากให้วิกิไทย มีความเป็นมาตรฐานเดียวกัน ส่วนใหญ่หมวดหมู่แบ่งตามสัญชาติใช้ชาว + ชื่อประเทศ จึงอยากให้ใช้เหมือนกันทั้งหมด จะได้ไม่สับสนต่อไปข้างหน้า ที่สำคัญคือชื่อหมวดหมู่ทำหน้าเปลี่ยนทางไม่ได้ ไม่ใช่หรือครับ??? Saeng Petchchai 17:41, 18 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
-
- ความเห็นเป็นกลาง (neutral) ผมคิดว่า ในบริบทของภาษาไทย คำว่าอเมริกันจะเป็นคำที่ยึดกับประเทศสหรัฐอเมริกามากกว่าทวีปอเมริกานะครับ เพราะถ้าคนไทยพูดว่า ประเทศอเมริกัน เราจะเข้าใจว่าเป็นสหรัฐฯ ไม่ใช่หมายถึงประเทศในทวีปอเมริกา (American country/ies) และในหลักของราชบัณฑิตฯ ก็กำหนดว่าคำคุณศัพท์ของสหรัฐอเมริกา ใช้คำว่าอเมริกัน [2] ส่วนในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ก็ใช้คำว่า en:Category:American people ซึ่งเป็นหมวดหมู่ย่อยของ en:Category:North American people (แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องยึดตามวิกิอังกฤษ) เห็นว่าไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน แต่ไม่คัดค้านการเปลี่ยนครับ (แต่จะว่าไป ในนั้นใช้ชาวเนเธอร์แลนด์ ไม่ใช่ชาวดัตช์ ผมว่าน่าจะเปลี่ยนสักทางนะครับ จะได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน)CW32 talk 22:21, 17 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
-
-
-
-
- จากพจนานุกรม พ.ศ. 2542 (หน้า 1334) อเมริกัน มีความหมายว่า ชื่อชาวประเทศสหรัฐอเมริกา ... ผมว่าชัดเจนดีแล้วครับ --Pi@k 01:52, 18 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
-
-
-
-
- ขอเพิ่มเติมความเห็นครับ ผมคิดว่าหมวดหมู่ไม่ได้แบ่งตามสัญชาติไม่ได้ใช้ ชาว + ชื่อประเทศ แต่เป็น ชาว + คำคุณศัพท์ของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเหมือนกับชื่อประเทศ ยกเว้นชื่อบางชื่อที่ใช้มานาน เช่น กรีก อเมริกัน ดัตช์ ดังนั้น ถ้าจะให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ผมขอเสนอให้เปลี่ยนจากชาวเนเธอร์แลนด์ มาเป็นชาวดัตช์ แทนที่จะเปลี่ยนชาวอเมริกันเป็นชาวสหรัฐอเมริกาครับ (สังเกต ชื่อหมวดหมู่ ชาวกรีก ชาวเยอรมัน ชาวโรมัน ไม่ใช่ ชาวกรีซ ชาวเยอรมนี ชาวโรม) CW32 talk 17:57, 18 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
-
ผมว่า "ดัตช์" มันจะสับสนหรือเปล่าครับ เพราะชื่อมันค่อนข้างแตกต่างกับชื่อประเทศ --Manop | พูดคุย - 19:59, 23 พฤศจิกายน 2006 (UTC)
-
- ก็เป็นไปได้ครับ เพียงแต่สังเกตว่าในบทความ เร็ม คูลฮาส มีการใ้ช้อยู่ ก็ไม่ทราบว่าเป็นภาษาที่ผู้ใช้ภาษาไทยส่วนใหญ่เข้าใจหรือเปล่า เฉยๆกับประเด็นนี้ครับ แค่ลองเสนอขึ้นมา cW32 talk 20:25, 23 พฤศจิกายน 2006 (UTC)