การคูณ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หากจะกล่าวอย่างง่ายๆ การคูณ คือ การบวก จำนวนที่เหมือนกันหลายๆ จำนวน อย่างรวดเร็ว ผลลัพธ์ที่ได้จากการคูณเรียกว่า ผลคูณ จำนวนที่ถูกคูณเข้าด้วยกันเรียกรวมๆ ว่า สัมประสิทธิ์ หรือ ตัวประกอบ ถ้าเรียกโดดๆ จะเรียกว่า ตัวตั้งคูณ และ ตัวคูณ
สารบัญ |
[แก้] สัญลักษณ์
การคูณสามารถเขียนได้หลายรูป โดยที่ความหมายยังคงเดิม ด้านล่างทั้งหมด คือ 5 คูณ 2
สำหรับเครื่องหมายดอกจัน (*) นิยมใช้ในคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่มีในทุกแป้นพิมพ์ แต่เราไม่ใช่ในการเขียนด้วยมือ และเราจะใช้ก็ต่อเมื่อไม่มีเครื่องหมายอื่นมาทดแทน (การใช้เครื่องหมายนี้เริ่มมาจากภาษาคอมพิวเตอร์ฟอร์แทรน) สำหรับตัวแปร โดยปกติแล้วเราจะไม่เขียนสัญลักษณ์การคูณไว้ นี่คือมาตรฐานในพีชคณิต
- 5x and xy.
ประโยคสัญลักษณ์นี้อาจก่อให้เกิดการสับสน เวลาตัวแปรมีชื่อยาวกว่าหนึ่งตัวอักษร และการเขียนลักษณะนี้จะไม่ใช้กับเลขโดดสองตัว เช่น 52 ไม่สามารถแปลว่า 5 × 2. ได้
ถ้าพจน์แต่ละพจน์ของผลคูณไม่ได้เขียนออกมาทั้งหมด เราอาจจะใช้เครื่องหมายจุดไข่ปลาแทนพจน์ที่หายไป เช่นเดียวกับการดำเนินการอื่นๆ (เช่น การบวก) เช่น ผลคูณของจำนวนธรรมชาติ ตั้งแต่ 1-100 อาจเขียน . และสามารถเขียนให้เครื่องหมายจุดไข่ปลาอยู่บริเวณกึ่งกลางแนวตั้งของแถวได้อีกด้วย คือ .
นอกจากนี้แล้ว ผลคูณยังสามารถเขียนได้ด้วยเครื่องหมายผลคูณ ซึ่งมาจาก อักษร Π (Pi) ตัวใหญ่ ในอักษรกรีก. ตัวอย่างเช่น
ตัวห้อยของประโยคสัญลักษณ์ข้างต้นแทนตัวแปรหุ่น (สำหรับประโยคนี้คือ i) และขอบเขตล่าง (m); ตัวยกแทนขอบเขตบน (n) เช่น
เรายังสามารถหาผลคูณที่มีพจน์เป็นอนันต์ได้อีกด้วย เรียกว่าผลคูณอนันต์ ในการเขียน เราจะแทนที่ n ด้านบนด้วยเครื่องหมายอนันต์ (∞). ผลคูณของพจน์จะกำหนดด้วยขีดจำกัดของผลคูณของ n พจน์แรก โดย n เพิ่มขึ้นโดยไม่มีขอบเขต เช่น
นอกจากนี้ยังสามารถแทน m ด้วยจำนวนลบอนันต์
และสำหรับจำนวนเต็ม m บางจำนวน สามารถกำหนดได้ทั้งอนันต์และลบอนันต์
[แก้] นิยาม
สำหรับความหมายของการคูณ ผลคูณของจำนวนธรรมชาติ n และ m ใดๆ
กล่าวสั้นๆ คือ 'บวก m เข้ากับตัวเอง n ตัว' สามารถเขียนได้ในลักษณะนี้เพื่อให้ชัดเจนมากขึ้น
- m × n = m + m + m + ... + m
หมายถึงมีจำนวน 'm' n ตัวบวกกันนั่นเอง
- 5 × 2 = 5 + 5 = 10
- 2 × 5 = 2 + 2 + 2 + 2 + 2 = 10
- 4 × 3 = 4 + 4 + 4 = 12
- m × 6 = m + m + m + m + m + m
โดยใช้นิยาม เราสามารถพิสูจน์สมบัติของการคูณได้โดยง่ายดาย โดยดูจากสองตัวอย่างข้างต้น เรามีสมบัติว่า จำนวนสองจำนวนที่คูณกันสามารถสลับที่กันได้โดยผลคูณยังคงเดิม เราเรียกสมบัตินี้ว่า สมบัติการสลับที่ และ สมบัตินี้เป็นจริงสำหรับจำนวน x และ y ใดๆ นั่นคือ
- x · y = y · x.
นอกจากนี้ การคูณยังมีสมบัติการเปลี่ยนหมู่อีกด้วย ความหมายสำหรับจำนวน x,y และ z ใดๆ คือ
- (x · y)z = x(y · z).
หมายเหตุจากพีชคณิต: เครื่องหมายวงเล็บ หมายถึง การดำเนินภายในวงเล็บจะต้องกระทำก่อนการดำเนินการภายนอกวงเล็บ
การคูณมีสมบัติการแจกแจง เพราะ
- x(y + z) = xy + xz.
มีสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการคูณกับ 1 นั่นคือ
- 1 · x = x.
เราเรียก 1 ว่า จำนวนเอกลักษณ์
สำหรับเลข 0 เราจะได้
- m · 0 = m + m + m +...+ m
เมื่อเรานำ '0' m ตัวมาบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมเป็นศูนย์ นั่นคือ
- m · 0 = 0
ไม่ว่า m จะเป็นจำนวนใด (แม้กระทั่งอนันต์).
การคูณกับจำนวนลบอาจจะต้องมีการคิดเล็กน้อย เริ่มจากการคูณ (−1) กับจำนวนเต็ม m ใดๆ
- (−1)m = (−1) + (−1) +...+ (−1) = −m
นี่เป็นความจริงที่น่าสนใจว่า จำนวนลบ คือ จำนวนลบหนึ่ง คูณกับจำนวนบวกนั่นเอง เพราะฉะนั้นผลคูณระหว่างจำนวนบวกกับจำนวนลบทำได้โดยการคูณปกติ แล้วคูณด้วย (−1)
- (−1)(−1) = −(−1) = 1
ในขณะนี้ เราสามารถสรุปการคูณระหว่างจำนวนเต็มสองจำนวนใดๆ ได้แล้ว และนิยามนี้ยังขยายไปสำหรับเซตของเศษส่วน หรือ จำนวนตรรกยะ และขยายไปถึงจำนวนจริงและจำนวนเชิงซ้อน
หลายคนอาจสงสัยถ้าบอกว่า ผลคูณของ'ไร้จำนวน' คือ 1
รูปแบบนิยามเรียกซ้ำของการคูณเป็นไปตามกฎ
- x · 0 = 0
- x · y = x + x·(y − 1)
เมื่อ x เป็นจำนวนจริง และ y เป็นจำนวนธรรมชาติ เมื่อเรากำหนดนิยามของการคูณจำนวนธรรมชาติแล้ว เรายังขยายผลไปถึงจำนวนเต็ม จำนวนจริง และจำนวนเชิงซ้อนได้
[แก้] การคำนวณ
สำหรับวิธีที่รวดเร็วเพื่อคำนวณผลคูณของจำนวนขนาดใหญ่ ดู อัลกอริทึมการคูณ
ถ้าต้องการคูณจำนวณโดยใช้กระดาษกับดินสอ คุณจะต้องใช้สูตรคูณ (ไม่ว่าจะอยู่ในกระดาษหรือสมองของคุณ) และคุณอาจต้องรู้อัลกอริทึมการคูณอีกด้วย
[แก้] ในทางดนตรี
- (รอเพิ่มเติมเนื้อหา)
[แก้] ดูเพิ่มเติม
- การคูณอย่างง่าย
- ส่วนกลับ
- สูตรคูณ