คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เภสัชอุบลราชธานี
ชื่อไทย | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
ชื่ออังกฤษ | Faculty of Pharmaceutical Sciences Ubon Rajathanee University |
คำขวัญ | "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีพันธกิจสำคัญในการให้การศึกษาด้านเภสัชศาสตร์แก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงหนือ และภาคอื่นๆ ของประเทศ มุ่งสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการและงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ และนานาชาติ โดยมีการประสานความร่วมมือกับชุมชนและภาคเอกชนเพื่อค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ ให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมแบบยั่งยืน
" |
ผู้ก่อตั้ง | มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
วันที่ก่อตั้ง | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537 |
ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น | University of Hawaii at Manoa (UHM) |
คณบดี | รศ.ดร.นงนิตย์ ธีระวัฒนสุข |
วารสารคณะ | เภสัชอุบลราชธานี |
หน่วยงานที่มีชื่อเสียง | การบำบัดแบบโฮมีโอพาธี |
ชื่อสถานปฏิบัติการชุมชน | เภสัชอุบลราชธานี |
ที่อยู่ | ถ.วาริน-เดชอุดม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190 |
โทรศัพท์ | 0-4535-5600, 0-4535-3609 |
โทรสาร | 0-4528-8384 |
เว็บไซต์ | www.phar.ubu.ac.th |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(อังกฤษ:Faculty of Pharmaceutical Sciences Ubon Rajathanee University) เป็นคณะเภสัชศาสตร์ของรัฐ ลำดับที่ 8 และเป็นคณะวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences) คณะแรกของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537 โดยมีวัตถุประสงค์ในการผลิตเภสัชกรเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะเภสัชศาสตร์ได้ปฏิบัติภารกิจสำคัญในการจัดการศึกษาและดำเนินงานวิจัยด้านเภสัชศาสตร์มานานกว่าทศวรรษ โดยในช่วงปีแรกๆของการสถาปนา คณะเภสัชศาสตร์ รับนักศึกษาปีละประมาณ 40 คน ปัจจุบันจำนวนนักศึกษาเพิ่มเป็น 130 คนต่อปี ในปีการศึกษา 2548 มีจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 504 คน และมีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาไปแล้วรวมทั้งสิ้น 3 12 คน บัณฑิตเภสัชศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาจะต้อง สอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรม จึงจะสามารถประกอบวิชาชีพได้โดยสมบูรณ์
สารบัญ |
[แก้] กลุ่มวิชา
คณะเภสัชศาสตร์มีการแบ่งส่วนราชการเพียงส่วนเดียวคือ สำนักงานเลขานุการ แต่ในส่วนของการจัดการเรียนการสอนนั้น มีการบริหารจัดการในลักษณะของกลุ่มวิชา ซึ่งเป็นการแบ่งส่วนงานภายใน แบ่งเป็น 3 กลุ่มวิชาดังนี้
- กลุ่มวิชาชีวเภสัชศาสตร์ (Division of Biopharmacy)
- กลุ่มวิชาเภสัชเคมีและเทคโนโลยีเภสัชกรรม (Division of Pharmaceutical Chemistry and Technology)
- กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ(Division of Pharmacy Practices)
สำหรับการเรียนการสอนในรายวิชาศึกษาทั่วไปและรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานนั้น จัดการเรียนการสอนโดยคณะศิลปศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ส่วนการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพนั้นจัดขึ้นในหน่วยงานที่เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานด้านการผลิตเภสัชภัณฑ์และด้านการให้บริการสุขภาพ และเภสัชกรรมทั้งในภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ
[แก้] หลักสูตร
คณะเภสัชศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา ดังนี้
[แก้] หลักสูตรระดับปริญญาตรี
หลักสูตรระดับปริญญาตรีมีทั้งหมด 3 หลักสูตร ได้แก่
- เภสัชศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Pharmacy) ปรับปรุง พ.ศ. 2541
- เภสัชศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Pharmacy) ปรับปรุง พ.ศ. 2547
- เภสัชศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Pharmacy) (ภาคพิเศษ)
[แก้] หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษามี 5 หลักสูตร ได้แก่
- เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิกและการบริหาร [Master of Science in Pharmacy (Clinical and administrative Pharmacy)]
- เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ [Master of Science in Pharmacy (Pharmaceutical and Natural Products)]
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารบริการสุขภาพ [Master of Science (Health Care Management)]
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา เภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ [Master of Science (Pharmaceutical Chemistry and Natural Products)]
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (Doctor of Philosophy in Pharmaceutical Sciences)
[แก้] ปรัชญาการศึกษา
เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี มีระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร 5 ปี (ภาคพิเศษ หลักสูตร 4 ปี โดยเทียบโอนรายวิชาระดับปริญญาตรีให้ 1 ปี) ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญา “เภสัชศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Pharmacy)” มีศักดิ์และสิทธิ์ในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมด้านต่างๆ อาทิการดูแลสุขภาพและสวัสดิภาพการใช้ยาในผู้ป่วย ในโรงพยาบาลและร้านยาชุมชน การควบคุมการผลิตและการควบคุมคุณภาพเภสัชภัณฑ์ในโรงงานอุตสาหกรรมยา หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตมีจำนวนหน่วยกิตรวมทั้งสิ้น 187-188 หน่วยกิต และมีจำนวนชั่วโมงการฝึกปฏิบัติงาน วิชาชีพไม่น้อยกว่า 500 ชั่วโมง หลักสูตรแบ่งเป็นสาขาเฉพาะทาง 2 สาขา ได้แก่ สาขาบริบาลเภสัชกรรม และสาขาเภสัชภัณฑ์ โดยนักศึกษาที่มีคุณสมบัติเทียบเท่านักศึกษาชั้นปีที่ 4 จะเลือกสาขาเฉพาะทางในภาคการศึกษาที่ 2 ในส่วนการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพนั้น นักศึกษาจะได้ไปฝึกปฏิบัติงานระหว่างที่เรียนในชั้นปีที่ 4 และ 5 ตามสถาบันและหน่วยงานซึ่งเป็นสถานฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพของคณะเภสัชศาสตร์ทั้งในภาครัฐและเอกชน
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นบทความเกี่ยวกับ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |