จังหวัดพะเยา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถิติ | |
---|---|
อำเภอเมือง: | อำเภอเมืองพะเยา |
พื้นที่: | 6,335.1 ตร.กม. อันดับที่ 35 |
ประชากร: | 486,225 (พ.ศ. 2549 เมษายน) อันดับที่ 59 ร่วม |
ความหนาแน่น: | 77 คน/ตร.กม. อันดับที่ 52 |
ISO 3166-2: | TH-56 |
ผู้ว่าราชการจังหวัด: | นายบวร รัตนประสิทธิ์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2546) |
แผนที่ | |
พะเยา เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบน มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนานไม่น้อยไปกว่าเมืองอื่นๆ ในอาณาจักรล้านนา บริเวณที่ตั้งของจังหวัดพะเยาในปัจจุบันอยู่ติดกับกว๊านพะเยา เดิมเป็นที่ตั้งของเมือง ภูกามยาว หรือ พยาว ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรษที่ 16 โดยมีผู้ปกครองคือ พ่อขุนงำเมือง ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจ และตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านนา เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองพะเยาอยู่ภายใต้การปกครองของจังหวัดเชียงราย ในฐานะอำเภอพะเยาและเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 อำเภอพะเยาได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา นับเป็นจังหวัดที่ 72 ของประเทศไทย
สารบัญ |
[แก้] อาณาเขต
จังหวัดพะเยามีเนื้อที่ประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตร ตอนเหนือมีพื้นที่ติดกับจังหวัดเชียงราย ทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจังหวัดน่าน ส่วนทางตะวันตก ติดกับจังหวัดลำปาง และทางด้านใต้ติดกับจังหวัดแพร่
[แก้] หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 68 ตำบล 790หมู่บ้าน
|
[แก้] อุทยานแห่งชาติ
- อุทยานแห่งชาติดอยหลวง
- อุทยานแห่งชาติภูซาง
- อุทยานแห่งชาติแม่ปืม
[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ไม่มี
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: สารภีไทย (Mammea siamensis)
- คำขวัญประจำจังหวัด: กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุศราคัม
[แก้] แหล่งท่องเที่ยว
- กว๊านพะเยา
- วัดศรีโคมคำ
- น้ำตกจำปาทอง
- ดอยบุษราคัม
- วัดอนาลโยทิพยาราม
[แก้] การศึกษา
มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา ตั้งอยู่ ณ ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา ห่างจากตัวเมืองพะเยาตามถนนพหลโยธินสาย พะเยา-ลำปาง ประมาณ 20 กิโลเมตร
[แก้] ลิงก์ภายนอก
แก้ | เมืองหลวง และ จังหวัดในประเทศไทย | |||||||||||||||||||
|
จังหวัดพะเยา เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น |