นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ (บางท่านบอกว่าเป็นชาวปรัสเซีย) เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1473 เสียชีวิต 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543 โคเปอร์นิคัสเป็นนักดาราศาสตร์ที่เปลี่ยนโฉมความรู้ของมวลมนุษย์ ด้วยการเสนอทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งขัดกับทฤษฎีโลกเป็นศูนย์กลางของอริสโตเติลและทอเลมี. โดยนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป ถือว่าการเสนอทฤษฎีนี้ เป็นการปฏิวัติทางความรู้ครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ เทียบเท่ากับการเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการของชาลส์ ดาร์วิน
สารบัญ |
[แก้] การปฏิวัติทางดาราศาสตร์ของโคเปอร์นิคัส
ในเวลานั้นโคเปอร์นิคัสได้เสนอให้ดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาลแทนโลกในแนวความคิดเดิม โดยให้ดาวเคราะห์ต่าง ๆ เช่น โลก ดาวศุกร์ หรือ ดาวพุธ โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม (ในเวลาต่อมาโยฮันเนส เคปเลอร์ได้เสนอว่าควรเป็นวงรีดั่งโมเดลในปัจจุบัน) ถึงแม้ว่าความแม่นยำในการทำนายด้วยทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสนั้นไม่ได้ดีกว่าทฤษฎีเก่าของอริสโตเติลและทอเลมีเลย (ไม่ได้ให้ผลการทำนายตำแหน่งของดวงดาวต่าง ๆ แม่นยำกว่าทฤษฎีเก่า) แต่ว่าทฤษฎีนี้ ถูกใจนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังในยุคนั้นหลายคน เช่น เดส์การตส์ กาลิเลโอ และเคปเลอร์ เนื่องจากว่าทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสนั้นเข้าใจง่ายและซับซ้อนน้อยกว่ามาก โดยกาลิเลโอกล่าวว่าเขาเชื่อว่ากฎต่าง ๆ ในธรรมชาติน่าจะเป็นอะไรที่สวยงามและเรียบง่าย ทฤษฎีโลกเป็นศูนย์กลางดูซับซ้อนมากเกินไปจนไม่น่าเป็นไปได้ (ดูทฤษฎีความอลวนเพิ่มเติม) แนวคิดของกาลิเลโอนี้ ตรงกับหลักการของออคแคม (Ockham's/Occam's razor) ในปรัชญาวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยด้านการเรียนรู้ของเครื่องในปัจจุบัน
[แก้] เกียรติยศ
โคเปอร์นิคัสได้รับเกียรติจากประเทศโปแลนด์ ให้เป็นชื่อมหาวิทยาลัยในเมืองโทรุน ตั้งในปี ค.ศ. 1945
[แก้] อ้างอิง
- Morris Kilne. Mathematics for the Non-mathematician. Dover Publication, 1985.
- DC Goodman, CA Russell, eds. The Rise of Scientific Europe 1500-1800. Bath, UK: Hodder &
[แก้] ลิงก์ภายนอก
- โปรแกรมจำลองการเคลื่อนไหวของโลกเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในโมเดลแบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางและโลกเป็นศูนย์กลาง
- Nicholaus Copernicus Museum in Frombork
- Portraits of Copernicus: Portrait; Nicolaus Copernicus
- Copernicus and Astrology - A reliable website from Cambridge University describing Copernicus' astrological activities.
- The Copernican Universe from the De Revolutionibus
- De Revolutionibus, 1543 first edition - Full digital facsimile, Lehigh University.
- De Revolutionibus, autograph manuscript - Full digital facsimile, Jagiellonian University.
- The front page of the De Revolutionibus
- The text of the De Revolutionibus
- A java applet about Retrograde Motion
- Copernicus in Bologna - in Italian
- "Chasing Copernicus: The Book Nobody Read". - Was One of the Greatest Scientific Works Really Ignored?. All Things Considered, NPR. March 4, 2004.
- Copernicus Foundation Chicago
- Nicolaus Copernicus University in Toruń