ภาษาปาสกาล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาปาสกาล (Pascal programming language) เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในวงการศึกษา คิดค้นขึ้นโดย นิเคลาส์ แวร์ท (Niklaus Wirth) นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1970 เพื่อช่วยในการเรียนการสอนการเขียนโปรแกรมโครงสร้าง (structured programming). ภาษาปาสกาลนั้นพัฒนาขึ้นมาจาก ภาษาอัลกอล (Algol), และชื่อปาสกาลนั้น ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ แบลส ปาสกาล (en:Blaise Pascal). นอกเหนือจากภาษาปาสกาลแล้ว, แวร์ทได้พัฒนา ภาษาโมดูลาทู (Modula-2) และ โอบีรอน (Oberon) ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายกับภาษาปาสกาล แต่สามารถรองรับการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (object-oriented programming).
[แก้] โครงสร้างอย่างง่าย
โปรแกรมภาษาปาสกาลทุกอัน จะเริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ด Program และส่วนของโค้ดจะอยู่ระหว่างคีย์เวิร์ด Begin และ End ภาษาปาสกาลนั้นไม่สนใจความแตกต่างระหว่างตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ("end" มีผลเท่ากับ "End"). เซมิโคลอน (;) ใช้เมื่อจบคำสั่ง และ จุลภาค (.) ใช้เมื่อจบโปรแกรม (หรือยูนิต)
program HelloWorld(input, output); begin WriteLn('Hello, World!'); end.
ภาษาโปรแกรมที่สำคัญ (แก้ ) | |||
ธุรกิจ: ABAP | Ada | ASP | AWK | Assembly | C | C++ | C# | COBOL | Object Pascal | Eiffel | Fortran | Java | JavaScript | JSP | J# | Lisp | Objective-C | Perl | PHP | PL/SQL | Python | RPG | Ruby | SAS | sh | SQL | Tcl/Tk | Visual Basic
|