ภาษาราชการของอินเดีย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเทศอินเดียมีภาษาพูดที่แตกต่างกันมากมาย ในกลุ่มคนต่าง ๆ กัน มีภาษาอย่างน้อย 30 ภาษา รวมถึงภาษาย่อยอีก 2,000 ภาษาด้วย. รัฐธรรมนูญอินเดียได้กำหนดให้ภาษาฮินดีและภาษาอังกฤษ เป็นสองภาษาที่ใช้ในการติดต่อกับรัฐบาลกลาง นอกจากนี้ยังได้กำหนดภาษาอื่น 22 ภาษาเป็น ภาษากำหนด (scheduled languages) ซึ่งเป็นภาษาที่รัฐต่าง ๆ สามารถนำไปใช้สำหรบการปกครองได้ รวมถึงเป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลรัฐ รวมถึงข้อสอบสำหรับการบรรจุข้าราชการ
ตามที่ร่างไว้ ได้มีการยกเลิกฐานะของภาษาอังกฤษเป็น ภาษาราชการ (เทียบเท่ากับภาษาฮินดี) ในพ.ศ. 2508 ซึ่งหลังจากนั้น มีเจตนาให้ภาษาอังกฤษเป็น "ภาษาราชการเพิ่มเติม" (associate additional official language) ต่อไป จนกว่าจะมีคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งตัดสินใจให้เปลี่ยนเป็นภาษาฮินดี ตามการทบทวนตามระยะเวลาปกติ อย่างไรก็ดี เนื่องจากมีคำคัดค้านจากรัฐต่าง ๆ เช่น ทมิฬนาดู ซึ่งมีการเข้าถึงของภาษาฮินดีน้อยมาก จึงยังคงนิยมใช้ระบบ 2 ภาษา เนื่องจากมีอุตสาหกรรมเพิ่มเติมอย่างรวดเร็ว และอิทธิพลทางเศรษฐกิจโลกมากมาย ภาษาอังกฤษจึงยังคงนิยมใช้ในการติดต่อกันในรัฐบาลและชีวิตประจำวัน และแผนที่จะทดแทนภาษาอังกฤษได้มีการยกเลิกไปโดยปริยาย
สารบัญ |
[แก้] ภาษาราชการ (รัฐบาลกลาง)
- ภาษาฮินดี
- ภาษาอังกฤษ (ภาษาราชการเพิ่มเติม)
[แก้] ภาษาราชการอื่น ๆ ของอินเดีย
- ภาษากอนกานี (Konkani, ภาษาราชการของกัว)
- ภาษากันนาดา (Kannada, ภาษาราชการของกรณาฏกะ)
- ภาษาคุชราต (Gujarati, ภาษาราชการของดาดราและนครหเวลี ดามันและดีอู และคุชราต)
- ภาษาแคชเมียร์ (Kashmiri)
- ภาษาโดกรี (Dogri, ภาษาราชการของชัมมูและแคชเมียร์)
- ภาษาเตลูกู (Telugu, ภาษาราชการของอานธรประเทศ)
- ภาษาทมิฬ (Tamil, ภาษาราชการของทมิฬนาฑูและพอนดิเชอร์รี)
- ภาษาเนปาลี (Nepali, ภาษาราชการของสิขขิม)
- ภาษาเบงกาลี (Bengali ภาษาราชการของตรีปุระและเบงกอลตะวันตก)
- ภาษาโบโด (Bodo, ภาษาราชการของอัสสัม)
- ภาษาปัญจาบ (Punjabi, ภาษาราชการของ ปัญจาบ)
- ภาษามราฐี (Marathi, ภาษาราชการของมหาราษฏระ)
- ภาษามาลายาลัม (Malayalam, ภาษาราชการของเกรละและลักษทวีป)
- ภาษามณีปุริ (ภาษาเมเธ) (Manipuri, Meithei, ภาษาราชการของ มณีปุระ)
- ภาษาไมถิลี (Maithili, ภาษาราชการของพิหาร)
- ภาษาสันตาลี (Santali)
- ภาษาสันสกฤต (Sanskrit)
- ภาษาสินธี (Sindhi)
- ภาษาอัสสัม (Assamese, ภาษาราชการของอัสสัม)
- ภาษาอูรดู (Urdu, ภาษาราชการของชัมมูและแคชเมียร์)
- ภาษาโอริยา (Oriya, ภาษาราชการของโอริสสา)
- ภาษาฮินดี (Hindi, ภาษาราชการของหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ พิหาร ฉัตตีสครห์ จัณฑีครห์ เดลี หรยาณา หิมาจัลประเทศ ฌารขัณฑ์ มัธยประเทศ ราชสถาน อุตตรประเทศ และอุตตรานจัล)
[แก้] ภาษาอื่น ๆ ที่นิยมพูดในอินเดีย
(มีคนพูดมากกว่า 5 ล้านคน แต่ไม่มีฐานะทางราชการ)
- ภาษาโคนที (Gondi, ชนเผ่ากอนด์ Gond)
- ภาษากาเนาจี (Kanauji, ภาษาของอุตตรประเทศ, มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
- ภาษาคุตชี (Kutchi, ภาษาของคุตช์)
- ภาษาฉัตตีสครห์ (Chhattisgarhi, ภาษาของฉัตตีสครห์, มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
- ภาษาตูลู (Tulu, พูดโดยชาวตูเล Tule ของกรณาฏกะและเกรละ)
- ภาษาบุนเดลี (Bundeli, มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
- ภาษาโภชปุรี (Bhojpuri, ภาษาของพิหาร, มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
- ภาษาภิลี (Bhili, ชนเผ่าภิล Bhil)
- ภาษามคธี (Magadhi, หรือ ภาษามคธ ภาษาของพิหารตอนใต้, มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
- ภาษามาร์วารี (Marwari, ภาษาของราชสถาน, มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
- ภาษาหรยาณวี (Haryanvi, ภาษาของหรยาณา, มักถือว่าประเภทย่อยของ ภาษาฮินดี)
- ภาษาอวาธี (Awadhi, มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
- ภาษาฮินดูสตานี (Hindustani, การผสมระหว่างภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ส่วนใหญ่พูดในตอนเหนือของอินเดีย)
[แก้] บทความอื่น
- รายชื่อภาษาของอินเดียเรียงตามจำนวนคนพูด
- ภาษาของอินเดีย
- รายชื่อภาษา
[แก้] ลิงก์ภายนอก
- กองภาษาราชการของอินเดีย (Department of Official Language, DOL) อธิบายถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับบัญญัติภาษาราชการ (Official Languages Act) และข้อเพิ่มเติม - Official webpage explains the chronological events related to Official Languages Act and amendments
- สถาบันกลางของภาษาของอินเดีย (Central Institute of Indian Languages) เว็บไซต์ของรัฐบาลที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาษาของอินเดีย , A comprehensive federal government site that offers complete info on Indian Languages