ภาษาเตลูกู
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เตลูกู (తెలుగు) | ||||
---|---|---|---|---|
พูดใน: | ประเทศอินเดีย | |||
ดินแดน: | รัฐอานธรประเทศ และรัฐใกล้เคียง | |||
จำนวนคนพูดทั้งหมด: | 66 ล้านเป็นภาษาแม่, 80 ล้านทั้งหมด | |||
อันดับ: | 13–17 (ภาษาแม่); ใกล้เคียงกับภาษาเกาหลี ภาษาเวียดนาม ภาษามราฐี และ ภาษาทมิฬ | |||
ตระกูลของภาษา: | ดราวิเดียน กลาง เตลูกู เตลูกู |
|||
สถานะทางการ | ||||
ภาษาราชการของ: | อินเดีย | |||
องค์กรควบคุม: | ไม่มี | |||
รหัสภาษา | ||||
ISO 639-1: | te | |||
ISO 639-2: | tel | |||
ISO/DIS 639-3: | tel | |||
|
ภาษาเตลูกู (Telugu తెలుగు) อยู่ในภาษากลุ่มดราวิเดียน แต่มีอิทธิพลพอสมควรจากภาษาดลุ่มอินโด-อารยันภายใต้ตระกูล อินโด-ยุโรเปียนและเป็นภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ของอินเดีย ภาษาเตลูกูเป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่มีผู้พูดมากที่สุด เป็นภาษาที่พูดเป็นอันดับ 2 รองจากภาษาฮินดี และเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาราชการของอินเดีย เขียนด้วยอักษรเตลุกุ
ชาวอังกฤษในคริสตศตวรรษที่ 19 เรียกภาษาเตลูกูว่า ภาษาอิตาลีของโลกตะวันออก (Italian of the East) เนื่องจากทุกคำในภาษาเตลูกูลงท้ายด้วยเสียงสระ แต่เชื่อว่านักสำรวจชาวอิตาลี นิกโกโล ดา คอนติ (Niccolò Da Conti) ได้คิดวลีนี้ในคริสตศตวรรษที่ 15